|
![]() วรรณกรรม ฟ.ฮีแลร์
ดรุณศึกษาเมื่อแรกแต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระเมตตาต่อท่าน ฟ.ฮีแลร์ เป็นอย่างยิ่ง ด้วยว่าพระองค์ท่านจะทรงตรวจแก้ไขงานที่ ฟ.ฮีแลร์ แต่งขณะนั้นคือหนังสือดรุณศึกษา ด้วยจะใช้เป็นตำราแทนตำรามูลบทบรรพกิต "ครั้นเอาความไปเล่าให้บาทหลวงกอลมเบต์ฟัง ท่านก็เห็นด้วย ครั้นสมเด็จฯ เสด็จมาที่โรงเรียน ท่านบาทหลวงจึงนำเฝ้าและเล่าเรื่องถวายเลยทีเดียว ท่านว่าอายก็อาย ดีใจก็ดีใจ ที่สมเด็จฯ ตรัสเรียกเอาต้นฉบับไปทอดพระเนตร แต่ที่ไหนได้ ทรงแก้ไขประทานและตรัสชมเชยมามาก เป็นเหตุให้ท่านเกิดกำลังใจ ครั้นตีพิมพ์ออกไปใครต่อใครก็ยกย่องสรรเสริญมา ท่านเลยแต่งต่อจนครบ 5 เล่ม หนังสือดรุณศึกษาเมื่อแรกแต่ง มีทั้งหมด 3 เล่ม ได้แก่ ดรุณศึกษาตอน กอ ขอ ดรุณศึกษาตอนกลาง และดรุณศึกษาตอนปลาย กาลต่อมาท่านเห็นว่าดรุณศึกษาตอน กอ ขอ มีขนาดรูปเล่มหนากว่าจะเรียนจบหนังสืออาจจะชำรุดไปมาก ดังนั้นในการพิมพ์ครั้งที่ 4 จึงได้แบ่งเป็น 2 ตอน กล่าวคือ ตอนที่ 1 ยังคงกล่าวถึง ก ข จนจบแม่ ก กา ตอนอากู๋ และใช้ชื่อหนังสือ ดรุณศึกษาตอน กอ ขอ ส่วนตอนที่ 2 เรียกว่า ดรุณศึกษาตอนต้น อีกทั้งท่าน ฟ.ฮีแลร์ ยังได้ปรับปรุงสำนวนภาษาให้เข้าใจง่าย
กลวิธีในการแต่งหนังสือดรุณศึกษา ในการเรียนภาษาไทยให้ได้ผลเร็ว สามารถอ่านได้รวดเร็วในชั้นประถมนั้น ฟ.ฮีแลร์ ได้คิดแบ่งสระและพยัญชนะออกเป็นตอน ๆ ผสมเป็นมาตราขึ้น บทละน้อย ๆ ซึ่งนักเรียนจะสามารถเรียนในวันเดียวก็จะเข้าใจได้เป็นบท ๆ ไป และเมื่ออ่านจบแล้ว นักเรียนก็จะได้ความรู้เรื่อง มาตรา สระและพยัญชนะเลยทีเดียว ดังตัวอย่างจากหนังสือดรุณศึกษา ตอน กอ ขอ การพิมพ์หนังสือดรุณศึกษาในสมัยของ ฟ.ฮีแลร์ เป็นที่น่าสังเกตได้อีกประการหนึ่งก็คือ ท่านจะพิมพ์คำเป็นคำ ๆ อย่างภาษาฝรั่ง ดังตัวอย่างข้างต้นนี้ การแยกเป็นคำ ๆ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างภาษาฝรั่ง ท่านให้เหตุผลว่า การเขียนติด ๆ กันนั้น เราต้องคิดถอดคำนั้นออกในใจเรา เป็นการเสียเวลาโดยที่เราไม่รู้สึกตัว เราจึงทราบได้อีกว่าท่าน ฟ.ฮีแลร์ นิยมนำเครื่องหมายวรรคตอนมาใช้ในภาษาไทยเราเฉกเช่นภาษาฝรั่ง เช่น เครื่องหมายจุลภาค การใช้เครื่องหมายจุดเมื่อจบประโยคแบบภาษาฝรั่ง ทั้งการวางประธาน กริยา และกรรมในประโยค ท่านก็เลือกที่เขียนให้แยกเป็นคำ ๆ เป็นส่วน ๆ ออกจากกัน เหมือนภาษาฝรั่ง ดังตัวอย่างจากหนังสือดรุณศึกษา ตอน กอ ขอ
ความโดดเด่นของหนังสือดรุณศึกษาที่ ฟ.ฮีแลร์ได้เพียรพยายามที่จะให้ตำราของท่านเป็นที่น่าสนใจทรงคุณค่าในด้านเนื้อหาและสารัตถะ ดังจะเห็นว่าท่านได้พยายามรวบรวมถ้อยคำซึ่งมีทั้งตัวสะกด ตัวการันต์และศัพท์บัญญัติต่าง ๆ ที่ใช้พูดและนิยมเขียนกันอย่างแพร่หลายในเวลานั้นมารวมไว้เป็นบท ๆ พอที่จะให้นักเรียนได้สังเกต และจดจำง่ายเป็นสัดส่วนของบทเรียน ดังจะเห็นได้จากดรุณศึกษาตอนกลาง ซึ่งจะมีทั้งเนื้อหาที่เป็นการเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง นอกจากนี้ท่านยังได้ค้นคว้าเรื่องราวนิทานที่เป็นเรื่องจริงบ้าง นิยายสนุก ๆ คติธรรมจากศาสนา ตำนาน พงศาวดาร มาแต่งเป็นเรื่องสั้น ๆ พอที่นักเรียนจะสามารถคิดและเข้าใจได้โดยตลอด ประกอบในหนังสือเป็นอีกแผนกหนึ่งของหนังสือดรุณศึกษา ก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจโดยไม่เบื่อหน่ายต่อบทเรียน นับเป็นการฉีกแนวตำราที่มีในสมัยนั้นโดยสิ้นเชิง อีกทั้งยังมีรูปภาพประกอบโดยที่ท่านทราบตระหนักชัดว่าเด็กนักเรียนทุกคนย่อมที่จะชอบใจอย่างมากที่จะได้ดูรูปของผู้ที่เป็นตัวการสำคัญในนิทานที่นักเรียนกำลังเรียนรู้ เป็นการเข้าใจจิตวิทยาของเด็กนักเรียนที่ต้องการเห็นภาพมากกว่าที่จะต้องคิดจินตนาการเอง เป็นกลวิธีการนำเสนอตำราเรียนที่น่าสนใจยิ่ง และท่านยังได้เอาใจนักเรียนที่ชื่นชอบกวีนิพนธ์ ท่านจึงได้เลือกโคลงกลอนมาผนวกแถมในตอนท้ายของเรื่องที่อ่านเพื่อปลูกฝังให้นักเรียนคุ้นเคยกับวรรณคดีและสำนวนโวหารต่าง ๆ เหนือไปกว่าเรื่องที่เรียน นักเรียนจะได้คติธรรมสอนใจ ที่ทรงคุณค่าดังที่ท่านได้ตั้งปฏิธานในการแต่งตำราจากคำนำของหนังสือดรุณศึกษาตอนกลางแสดงถึงความมีจิตใจที่ฉายส่งออกมาให้ทุกคนได้ทราบ ดังข้อความที่ว่า
"หากว่าหนังสือ "ดรุณศึกษาตอนกลาง" เล่มนี้ได้เป็นเหตุทำให้นักเรียน
ดังคำกลอนที่ท่านสอนไว้จากหนังสือดรุณศึกษาตอนปลายดังนี้
เตรียมเสบียง
หนังสือดรุณศึกษากับยุคปัจจุบัน ในปัจจุบัน ยังปรากฏว่าโรงเรียนหลายแห่งยังคงใช้หนังสือดรุณศึกษากันอย่างแพร่หลาย แม้แต่โรงเรียนรัฐบาลบางแห่งก็ยังใช้เป็นตำราเรียน จึงนับได้ว่าภูมิปัญญาของท่าน เจษฏาจารย์ ฟ.ฮีแลร์ได้รังสรรค์ไว้แก่แผ่นดิน แก่วงการศึกษาของไทย ด้วยท่านเป็นผู้มีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ก่อให้เกิดความเจริญงอกงามไพบูลย์แก่เยาวชนไทยอย่างไม่มีวันจบสิ้นได้ ด้วยเป็นตำราเรียนที่ท่านได้ทุ่มเทแรงกาย สติปัญญาอย่างเต็มกำลังเกือบตลอดชีวิตของการเป็นครู แม้ท่านมิใช่คนไทย แต่ท่านก็ได้ก่อสร้างคุณาประโยชน์แก่ชาติไทยทั้งแก่กุลบุตรกุลธิดา ให้เป็นผู้มีการศึกษาที่เต็มเปี่ยมด้วยความรู้และคุณธรรมของศาสนานั้น ๆ ให้สมกับคุณค่าของผู้รับใช้ที่ดีในคริสต์ศาสนา ผู้มีความจงรักภักดี เสียสละ และอดทน และหวังเป็นที่สุดคือการขึ้นไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์ หนังสือดรุณศึกษาจะยังคงใช้เป็นตำราไปตราบนานเท่านานที่ทุกคนยังใครต่อการศึกษา ดังคำกล่าวสรรเสริญจากวัชรสมโภช ปี 1901-1976 ปี 2507 ความว่า "กิจกรรมที่ท่านเจษฏาจารย์ ฟ.ฮีแลร์ ได้สร้างสรรค์ไว้ในโรงเรียนอัสสัมชัญ คือหนังสือแบบเรียนภาษาไทยชื่อ "ดรุณศึกษา" จำนวน 5 เล่ม สอนแต่ชั้นประถมมูล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ยังใช้กันตราบเท่าทุกวันนี้ แพร่หลายไปทั่วประเทศ แถมคนที่ไปเมืองนอกยังส่งหนังสือดรุณศึกษาจากเมืองไทยไปสอนพวกฝรั่งที่จะเข้ามาเมืองไทยอีก" เช่นนี้นับว่าท่านได้ดำรงไว้ซึ่งภาษาไทยให้เป็นเกียรติยศ ศักดิ์ศรีแก่ประเทศไทย งานชิ้นนี้นับว่าเป็นชิ้นโบว์แดงทีเดียว
ข้อมูลจาก : อัสสัมชัญประวัติ |